การควบคุมสติในการเล่น Forex เมื่อขาดทุนติดกัน

อ่าน 1839 ครั้ง

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

การขาดทุนติดๆกัน และภาวะอาการ “จิตหลุด” ของนักเล่นหุ้น โดย Barry Lutz

ในช่วงที่ตลาดหุ้นเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ หรือเคลื่อนไหวอยู่ในแนวโน้มขาลงนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับนักเล่นหุ้นทุกคนนั้น คือการขาดทุนที่มักจะเกิดขึ้นติดๆกันเป็นระยะ สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงนี้คือการควบคุมอารมณ์และสติของเราให้มั่นคง เพื่อที่จะรักษาวินัยในการลงทุนเอาไว้ และในวันนี้ผมได้นำวิธีการง่ายๆที่อาจช่วยให้คุณควบคุมอารมณ์และสติของคุณได้ดียิ่งขึ้นเมื่อต้องเจอกับตลาดที่ไม่เอื้ออำนวยครับ

จิตวิทยาการลงทุน

คุณได้เข้าซื้อหุ้นไปสักพักหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นานมันก็เริ่มดิ่งหัวลง หลังจากนั้นคุณจึงตัดสินใจครั้งใหม่ที่จะ Short หุ้น แต่หลังจากนั้นไม่นานมันก็เด้งขึ้นทันที นับรวมแล้วก็เป็นอันว่าคุณขาดทุนติดกัน 2 ครั้งเสียแล้ว และมันทำให้คุณรู้สึกค่อนข้างลังเลขใจเล็กน้อย นั่นทำให้คุณรู้สึกแหยงๆที่จะไม่เทรดหุ้นในสัญญาณครั้งต่อไป และเป็นอย่างที่คุณคิดเอาไว้ นั่นเป็นสัญญาณที่ทำให้คุณได้กำไร! เอาล่ะสมมุติว่ามันแย่กว่านั้นอีก คุณตัดสินใจไล่ซื้อตามมันไป ซึ่งหลังจากที่คุณได้ไล่ซื้อมันไปไม่นานนัก มันก็ดิ่งหัวลงมาและทำให้คุณขาดทุนอีกครั้ง สรุปแล้วในขณะนี้คุณขาดทุนติดกันถึง 3 ครั้งแล้ว..

คุณอาจคิดว่า “โอเค.. ลองอีกครั้งก็ได้ฟระตรู เรื่องอย่างนี้มันเกิดขึ้นได้เสมอแหละวุ้ยยยย”

ในครั้งนี้ คุณตัดสินใจอย่างฉลาดสุดๆ คุณสังเกตได้ว่าตลาดนั้นวิ่งอยู่กรอบแคบๆ มันจะเด้งขึ้นเมื่อเจอกับแนวรับ และเด้งลงเมื่อเจอกับแนวต้าน ดังนั้นในครั้งต่อไป คุณจึงตัดสินใจที่จะซื้อ-ขายเมื่อมันวิ่งไปชนกับกรอบราคา แทนที่จะเล่นด้วยระบบเดิมๆของคุณ

ต่อมานั้น ตลาดได้วิ่งไปคลอเคลียอยู่แถวแนวรับ ซึ่งมันเข้าทางกับแผนการที่คุณได้วางเอาไว้ คุณจึงตัดสินใจ “ซื้อมันซะเลย” แต่แทนที่มันจะเด้งขึ้นเหมือนอย่างที่ผ่านมา ราคาของหุ้นกลับดิ่งทะลุแนวรับไปเสียนี่.. และนี่ไม่เพียงทำให้คุณขาดทุนติดๆกันถึง 4 ครั้ง แต่นี่เป็นการขาดทุนจากการที่คุณแหกระบบที่ดีที่สุดระบบหนึ่งของคุณไป เท่านั้นยังไม่พอ มันยังเป็นสัญญาณที่หากว่าคุณทำตามระบบไปละก็ กำไรในคราวนี้จะกลบการขาดทุนใน 3 ครั้งที่ผ่านมาทั้งหมดเลยทีเดียว

เอาล่ะ เมื่อมาถึงตอนนี้คุณจะทำอย่างไรต่อไป.. “เลิกเล่น?” แล้วพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้ตัวเองหลงผิดมาเก็งกำไรครั้งใหม่.. โยนคอมพิวเตอร์ทิ้งไปนอกบ้านซะเลย แล้วลืมๆมันไปซะ… นี่เป็นสัญญาณที่กำลังบอกคุณว่า คุณกำลัง “จิตหลุด” แล้วหละครับ

อะไรคือภาวะ “จิตหลุด”

ผมคิดว่าภาวะของอาการ “จิตหลุด” นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่คุณนั้นได้ยอมรับว่า “การขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบการลงทุนและการเก็งกำไร” ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ แต่การขาดทุนที่สะสมติดต่อกันนั้น ได้ค่อยๆทำให้คุณสะสมความกดดันจนไปถึงจุดหนึ่งที่คุณนั้นไม่สามารถที่จะยอมรับมันได้อีกแล้วนั่นเอง ซึ่งภาวะอาการ “จิตหลุด” กะทันหันนี้ ทำให้คุณนั้นหน้ามืดและมองข้ามระบบการลงทุนของคุณไป และถูกแทนที่ด้วยอารมณ์จากผลการซื้อ-ขายในครั้งที่ผ่านๆมานั่นเอง และถึงแม้ว่าการ “เลิกเล่น” นั้นจะเป็นสิ่งเดียวที่ดูจะเหมาะสมในช่วงเวลาอย่างนี้ แต่อาการ “จิตหลุด” ของคุณนั้น อาจจะทำให้คุณทำในสิ่งที่คุณไม่คาดคิดไปตามอารมณ์ของคุณก็เป็นได้ และมันอาจเป็นไปอย่างนั้นจนถึงจุดๆหนึ่งซึ่งมันหมดหวังเต็มที จนทำให้คุณนั้นไม่สามารถรับมันได้อีกต่อไปและจำเป็นต้อง “เลิกเล่น” ไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตาม บทความนี้นั้นไม่ได้พยายามที่จะพูดถึงเรื่องของอารมณ์และการเก็งกำไรของคุณ หรือเกี่ยวกับเรื่องของความกลัวซึ่งคอยขัดขวางนักเล่นหุ้นหรืออะไรเทือกๆนั้น เพราะอย่างที่เรารู้ๆกันว่า อารมณ์นั้นเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคุณต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมมัน หรือไม่เช่นนั้นคุณก็ต้องเลิกเก็งกำไรซะ

นี่เป็นบทความที่เกี่ยวกับการที่โดยปกติแล้วคุณนั้นสามารถที่จะควบคุมอารมณ์และสติของคุณในการเก็งกำไรได้เป็นอย่างดี แต่แล้วจู่ๆก็กลับมีบางสิ่งบางอย่างมาทำให้นักเล่นหุ้นอย่างเราๆเสียการควบคุมไป และเกิดอาการ “จิตหลุด” ขึ้นมานั่นเอง ซึ่งผลจากการขาดทุนติดๆกันหลายๆครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดทุนซึ่งเกิดจากการแหกระบบของนักเล่นหุ้นเองนี่เองที่เป็นต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นนี้

นี่ไม่ใช่สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะกับนักเล่นหุ้นหน้าใหม่ หรือนักลงทุนระดับล่างๆ เนื่องจากมันเป็นเรื่องที่จะต้องเกิดขึ้นกับนักเล่นหุ้นทุกคน ซึ่งไม่ว่าใครก็มีสิทธิที่จะต้องเจอกับช่วงเวลาที่ไม่ว่าเราจะทำอะไรไป ทุกอย่างก็ดูจะผิดที่ผิดทางไปเสียหมด และนั่นทำให้เราเกิดการขาดทุนติดๆกันหลายๆครั้งขึ้นมา ดังนั้น นี่จึงเป็นสถานการณ์ซึ่งเกิดขึ้นได้กับนักเล่นหุ้นทุกคน เพียงแต่ว่านักเล่นหุ้นแต่ละคนแต่ละระดับนั้น จะมีการตอบสนองต่อภาวะเช่นนี้ต่างกันไป

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเจอกับภาวะเช่นนี้นักเล่นหุ้น นาย A. อาจจะเกิดความตื่นตระหนกอย่างรุนแรงและเกิดอาการ “จิตหลุด” ตามมาทันที ซึ่งทำให้เขารู้สึกเสียความมั่นใจของเขาไปและผลที่ตามมาก็คือการขาดทุนที่มากกว่าที่ได้คาดคิดเอาไว้อย่างมากมาย หรือในอีกทางหนึ่งนั้น นาย B. อาจจะเกิดความรู้สึกอยาก “เอาคืน” และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนขึ้นอีกเป็นเท่าตัว เนื่องจากเขามั่นใจว่ายังไงซะ การเก็งกำไรครั้งต่อไปของเขาจะสามารถทำให้เขากลับมาเท่าทุนเหมือนเดิมได้ แต่แล้วอาการ “จิตหลุด” นี้ก็ยังดังเนินต่อไปพร้อมกับการขาดทุนของเขา และทำให้เขาต้องสูญเสียเงินไปมากกว่าที่เขาได้คาดคิดเอาไว้แต่แรก.. แล้วนักเล่นหุ้นที่ประสบความสำเร็จอย่างนาย C. ล่ะ เขาทำอย่างไรกับภาวะเช่นนี้?

การควบคุมภาวะของอาการ “จิตหลุด” ในการเล่นหุ้น

เมื่อคุณลองคิดไตร่ตรองดูให้ดี คุณจะพบว่า “ทุกครั้งที่อาการ “จิตหลุด” ของคุณได้เกิดขึ้นและคุณสุญเสียการควบคุมสติของคุณไป นั่นจะยิ่งทำให้อาการ “จิตหลุด” ในครั้งต่อไปของคุณเกิดขึ้นเร็วยิ่งกว่าเดิม” นี่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ จนถึงเวลาหนึ่งที่การเล่นหุ้นกลายเป็นสิ่งที่เจ็บปวดเกินกว่าที่คุณจะทนไหว ซึ่งทำให้คุณไม่อยากเล่นหุ้นอีกต่อไปนั่นเอง

เมื่อลองคิดและไตร่ตรองดูให้ดีอีกครั้ง คุณจะพบว่า “มันเป็นการดีกว่าที่คุณจะเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ในการเล่นหุ้นของคุณ แทนที่คุณจะตัดสินใจเลิกเล่นหุ้นไป” เนื่องจากการเลิกเล่นหุ้นเก็งกำไรนั้น ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะมันไม่ได้ช่วยป้องกันให้คุณไม่คิดที่จะกลับมาลองเก็งกำไรหรือเล่นหุ้นรอบใหม่อีกครั้ง และไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นเมื่อคุณต้องเจอกับภาวะขาดทุนติดๆกันอีกครั้ง

ในการที่จะควบคุมสติของคุณให้ได้ ก่อนที่คุณจะเกิดอาการ “จิตหลุด” ขึ้นมานั้น คือการเอาชนะจิตใจและตัวตนข้างในของคุณให้ได้เสียก่อน คุณต้องทำมันและพาตัวเองกลับมาเดินอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง แล้วคุณจะได้กำไรชีวิตจากสิ่งที่คุณทำอย่างคาดไม่ถึง เพราะคุณจะรู้ว่าถึงแม้คุณจะต้องเจอกับช่วงเวลาที่โหดร้าย แต่คุณก็จะมั่นใจในตนเองว่าคุณจะข้ามผ่านมันไปได้ และสามารถควบคุมสติของคุณเอาไว้ได้จนไม่ต้องเกิดการขาดทุนที่มากมายอีกครั้ง

วิธีการง่ายๆที่จะช่วยคุณได้ คือให้คุณลองนำสิ่งที่คุณเชื่อว่าเป็นหลักหรือแก่นในการเก็งกำไรของคุณ มาเขียนลงในกระดาษโน้ทเล็กๆแปะไว้กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้คุณระลึกและตระหนักถึงมันอยู่ตลอดเวลา ทำให้สิ่งต่างๆเหล่านี้อยู่ในจิตสำนึกของคุณอยู่ตลอดเวลา แทนที่มันจะไปฝังอยู่ในจิตไต้สำนึกของคุณจนลึกเกินไปนั่นเอง แต่จงระวังไว้ว่าทุกๆครั้งที่คุณได้เขียนโน้ทเอาไว้นั้น ขอให้แน่ใจว่าคุณกำลังเขียนแนวคิดลงไป ไม่ใช่วิธีการ จงอย่ายึดติดกับ”วิธีการ” จนเป็นการทำให้ปัญหาของคุณนั้นย่ำแย่ลงไปกว่าเดิม

ยกตัวอย่างเช่น ลองคิดถึงช่วงเวลาที่อารมณ์ของคุณนั้นพลุ่งพล่านจากการที่คุณได้เกิดการขาดทุนติดๆกัน ภายในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นกำลังเคลื่อนไว้อยู่ในกรอบแคบๆดู แล้วลองเขียนโน้ทลงไปในลักษณะคำพูดแบบนี้ครับ

“อารมณ์บ้าๆนี้อาจจะมาจากการขาดทุนติดๆกันอย่างรวดเร็วของเรา และการขาดทุนติดๆกันอย่างรวดเร็วนี้อาจมาจากการที่เราพยายามเล่นหุ้นในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นกำลังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆนี้ก็ได้ หรือเราอาจกำลังเล่นหุ้นบ่อยเกินไปก็ได้ และไม่มีอะไรที่ได้ผิดพลาดไปในระบบของเราหรอก ตราบใดที่เรายังเล่นหุ้นได้ตามระบบของเราอยู่ ทุกอย่างก็ยังคงปกติและเราก็ยังเล่นหุ้นได้ดีอยู่เหมือนเดิม”

เอาล่ะ หรือไม่คุณอาจลองเปลี่ยนเป็นประโยคอีกประโยคหนึ่ง ซึ่งเขียนออกมาในสถานการณ์เดียวกันดู

“อย่าเป็นไอ้โง่ที่เล่นหุ้นโง่ๆบ่อยเกินไปสิฟะ! เหมือนกับว่ากลัวที่จะขาดทุนในวันนี้เสียเหลือเกิน อย่าทำเหมือนกับทุกๆวันที่ผ่านมา ไม่งั้นเรื่องแบบนี้มันก็จะเกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ และไม่จำเป็นต้องรีบร้อนที่จะเล่นหุ้นเกินไปถ้ายังคิดจะเล่นในหุ้นแบบเดิมๆอีก”

จงรักษา “สติ” ของคุณเอาไว้

“รักษาสติเอาไว้” คือประโยคต่อไปในกระดาษโน้ทของคุณ

อีกวิธีหนึ่งซึ่งคุณสามารถทำได้นั้น คือโดยการเขียนโน้ทซึ่งคุณพอจำได้ว่าก่อนที่อาการ “จิตหลุด” ของคุณจะเกิดขึ้นนั้น ได้เกิดอะไรขึ้นมาบ้าง ยกตัวอย่างเช่น หายใจเร็วขึ้น, เหงื่อออกเยอะ, บิดตัวไปมาอยู่บนเก้าอี้ หรืออาการนั่งไม่ลง และหลังจากที่อาการ “จิตหลุด” ของคุณเริ่มรุนแรงขึ้น เช่น โวยวาย, ขว้างปาสิ่งของ หรือทำลายข้าวของ จนในที่สุดเมื่อคุณเกิดเอาการ “จิตหลุด” แบบเต็มขั้นหรือการตื่นตระหนกอย่างสุดขีด

แน่นอนว่ามันคงจะมีลิสท์รายละเอียดของอาการที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวเหยียดเลยทีเดียว แต่การที่คุณสามารถที่จะตระหนักถึงมันได้เมื่อมันเกิดขึ้นมานั้น อาจช่วยให้คุณเริ่มที่จะสามารถควบคุมมันเอาไว้ได้ ก่อนที่มันจะควบคุมตัวของคุณแทนนั่นเอง

คอยตระหนักอยู่ตลอดเวลา

คุณควรต้องรู้ถึงสิ่งที่มีศักย์ภาพที่จะก่อให้เกิดอาการ “จิตหลุด” ของคุณ มันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการที่คุณจะยอมรับว่าตัวของคุณนั้นมี “อารมณ์” ข้องเกี่ยวอยู่เสมอ และจงอย่าพยายามที่จะมองข้ามมันไป หรือพยายามเก็บมันซ่อนเอาไว้เพราะคุณมองว่ามันคือสิ่งที่แสดงถึงความอ่อนแอของคุณ เพราะนี่จะเป็นสิ่งที่จะทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

คุณเป็นมนุษย์! มนุษย์ทุกคนมีอารมณ์ และอารมณ์จะเข้มข้นขึ้นเมื่อสถานการณ์ต่างๆนั้นเริ่มบีบคั้นขึ้นมา ดังนั้น คุณอาจไม่จำเป็นที่จะต้องรู้หรอกว่าคุณจะทำอะไรเมื่อคุณ “จิตหลุด” และสูญเสียการควบคุณขึ้นมา แต่คุณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ หรือจำให้ได้ว่าคุณจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้อาการ “จิตหลุด” นั้นเกิดขึ้นมาอีกครั้ง คุณจำเป็นต้องรู้ว่าอะไรที่จะช่วยให้คุณมี “สติ” อยู่เท่าที่คุณจะสามารถทำได้ ในช่วงเวลาแย่ๆของการเล่นหุ้นซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต คุณจำเป็นต้องรู้ว่าอะไรจะช่วยให้คุณ “กลับมา” มีสติขึ้นอีกครั้ง

แล้วนักเล่นหุ้นที่ประสบความสำเร็จนั้นทำอะไรบ้าง?

นักเล่นหุ้นที่ประสบความสำเร็จนั้น คือนักเล่นหุ้นที่สามารถที่จะควบคุม ”สติ” ไม่ว่าจะในสถานการณ์ที่เขามีกำไรหรือขาดทุน และมี “สติ” อยู่ในทุกๆเวลา การมี “สติ” นั้นเป็นส่วนสำคัญในการที่จะช่วยในการควบคุมอารมณ์ไม่ให้เกิดอาการณ์ “จิตหลุด “ ในการเล่นหุ้นขึ้นมา นักเล่นหุ้นที่ดีนั้นสามารถที่จะประเมิณการขาดทุนของเขาในรูปแบบของการเกิดขึ้นตามธรรมดาของระบบการลงทุน และนักเล่นหุ้นที่ดีนั้นจะสามารถเล่นหุ้นได้ตามระบบที่ดีของเขาได้ไม่ว่าจะต้องเจอกับช่วงเวลาเลวร้ายเพียงใด และถึงแม้พวกเขาจะเกิดการขาดทุนขึ้นมา พวกเขาก็จะเข้าใจว่ามันต้องเกิดขึ้น พวกเขายอมรับกับ “ความน่าจะเป็น” ที่มันจะต้องเกิดขึ้น และทำตามระบบต่อไป ซึ่งการซื้อ-ขายครั้งต่อไปนั้นอาจจะทำกำไรให้พวกเขาก็ได้

จิตวิทยาการลงทุน

บทความนี้ค่อนข้างยาวเสียหน่อย แต่น่าจะมีประโยชน์กับนักเล่นหุ้น หรือแม้แต่นักลงทุนทุกคนเช่นเคย ต้องขอบคุณที่อ่านจนจบครับ และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านช่วงเวลาที่ไม่ค่อยเอื้ออำนวยต่อการลงทุนอย่างนี้ไปได้ด้วยดีนะครับ ขอบคุณที่ติดตาม แมงเม่าคลับ.คอม เหมือนเดิม แล้วเจอกันใหม่กับตอนหน้านะครับ ผมเตรียมบทความดีๆไว้ปล่อยอีกเยอะครับ จะค่อยๆแปลลงมาเท่าที่จะพอทำได้นะครับ

โค๊ด: [Select]
http://forextrader.igetweb.com/index.php?mo=3&art=41942162
  • Tamol

  • ****
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 1 | กระทู้ 250
  • เพศ: ไม่ระบุ
วิธีเปิดบัญชี forex exness อย่างละเอียด 2024 ทีละขั้นตอน | วิธีสมัคร Forex Update 2567



 

SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums