ศัพท์ที่ควรรู้ก่อนเริ่มเล่นหุ้นเบื้องต้น

อ่าน 1908 ครั้ง

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

  เคยมั้ยครับ พอเราเริ่มสนใจอยากเรียนรู้การลงทุน/หุ้น ก็ไปหาซื้อหนังสือมาอ่าน แต่อ่านแล้วไม่เข้าใจ หลายคนคงเคยสงสัย "มันเขียนอะไรของมันนะ ภาษาไทยแท้ๆ แต่อ่านไม่เข้าใจ" อย่าไปโทษเขาเลยครับ มันเหมือนเด็กป.6  อ่านการ์ตูนวัยรุ่นนั่นแหล่ะ การ์ตูนก็ลายเส้นเหมือนกัน ใช้ภาษาไทยเหมือนกัน แต่ไม่อินกับเนื้อหา
          ผมกำลังจะบอกว่าผมก็เคยเป็นครับ โดยเฉพาะหนังสือที่ขายดิบขายดีอยู่ในขณะนี้ เช่น "แกะรอยหยักฯ"ของคุณแพท ภาววิทย์ กลิ่นประทุม (ขออนุญาตเอ่ยนามครับ 555 เลียนแบบพี่เสกโลโซ เอ่ยนามเขาไปทั่ว แต่เขาอนุญาตรึเปล่าไม่รู้) ใครๆก็ว่าเขียนสนุก อ่านเข้าใจง่าย ผมก็ซื้อมาอ่านครับ แต่หลายครั้งที่ไม่เข้าใจ ตอนแรกก็จะโทษคุณแพทคับ แต่นั่งนึกไปนึกมาก็โทษตัวเองดีกว่า "โทษคนอื่นแก้ไขไม่ได้ แต่โทษตัวเองแก้ไขได้ครับ" มาถึงบางอ้อทีหลัง แล้วก็ได้แต่ร้องเพลง "ก็เรามันโง่เอง"

          เข้าเรื่องเลยละกันครับ ผมจะบอกว่าเพื่อไม่ให้เพื่อนๆที่เริ่มเข้ามาสนใจเล่นหุ้นหลังจากผม ต้องมาคอยอ่านวนไปวน search net หาศัพท์กันให้วุ่น ผมรวบรวมคำศัพท์ที่ต้องรู้เบื้องต้นไว้ให้แล้วครับ...
         (ปล.ห้ามใครที่มีความรู้แล้วแต่เผลอเข้ามาอ่านแล้วแอบคิดว่า "ไอ้โง่...คนอื่นเขาไม่โง่เหมือนเอ็งหรอก" ใครทำอย่างนั้นผมแช่งให้หุ้นที่อยู่ในพอร์ตทั้งหมดตกเหวนะครับ555)


                                               ศัพท์/ชื่อย่อ ที่ควรรู้ก่อนเริ่มเล่นหุ้น
1.      นักลงทุนแนว VI (Value Investment) คือนักลงทุนที่สนใจแต่หุ้นพื้นฐานดีเท่านั้น นักลงทุนประเภทนี้จะเข้าไปซื้อหุ้นที่เขาประเมินแล้วว่ามีพื้นฐานดี โดยจะเข้าซื้อในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือราคาหุ้นตัวนั้นๆตกไม่ว่าจะด้วยเหตุใด และจะถือครองเป็นเวลานาน ไม่เน้นกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นในช่วงสั้นๆ

2.      นักลงทุนแนว Technical คือ นักลงทุนที่ใช้กราฟหรือเทคนิคต่างๆเข้าช่วยในการตัดสินใจซื้อหุ้น นักลงทุนประเภทนี้จะอาศัยกราฟเพื่อดูรอบขึ้น-ลงของหุ้นและจะเข้าทำการซื้อ-ขายเป็นรอบสั้นๆ โดยต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าหุ้นตัวนั้นยังมี Gapของราคาให้เล่นอยู่ (ซื้อแพง ขายแพงกว่า)

3.      Commodity สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำ, น้ำมัน, ข้าว, แป้ง, อาหารสัตว์, สังกะสีและเหล็ก......สินค้าโภคภัณฑ์จะมีคุณภาพที่คล้ายกันจนแยกไม่ออกว่าใครเป็นผู้ผลิต และมีการซื้อขายกันทั่วโลกราคาเดียว โดยราคาซื้อขายจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทานของสินค้าในช่วงนั้นๆ เช่น ของขาดตลาดและมีความต้องการใช้ ราคาก็จะแพงเป็นต้น

4.      Fundamental พื้นฐาน, รากฐานของหุ้น (นักลงทุนแนว VI ต้องใช้ในการวิเคราะห์)

5.      Dividend เงินปันผล (นักลงทุนแนว VI จะสนใจในส่วนนี้)

6.      Capital gain กำไรส่วนต่างของราคาในการขายหลักทรัพย์ (นักลงทุนแนว Technical จะเล็งในส่วนนี้)

7.      Yield ผลตอบแทน(ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย)

8.      Indicator ตัวชี้วัด...เป็นส่วนประกอบในChart แสดงออกมาในรูปกราฟเพื่อบอกถึง Trendของหุ้นตัวนั้นๆ เช่น MACD, RSI

9.      Divergence สัญญาณกลับตัวในทิศทางตรงกันข้ามของหุ้น

10.  Uptrend หุ้นในช่วงขาขึ้น

11.  Downtrend หุ้นในช่วงขาลง

12.  Sideways เป็นช่วงที่กราฟหุ้นวิ่งออกข้าง เคลื่อนไหวไม่ชัดเจนว่าราคาจะขึ้นหรือจะลง

13.  MACD = Moving Average Convegence Divergence เส้นบอกจุดที่ควรซื้อขายหุ้น โดยให้ใช้ประกอบกับเส้น EMA  หรือสามารถดูจังหวะการเข้าซื้อ-ขายจากChartของMACDเอง

14.  EMA = Exponential Moving Average เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาหุ้น โดยสามารถเลือกเป็นรอบๆ เช่น EMA25 คือ ค่าเฉลี่ยของราคาในรอบ 25วันที่ผ่านมา

15.  RSI = Relative Strength Index...เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ใช้ในการดูการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้น
-ถ้าเกิน 70ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นเข้าเขต over bought หรือ ซื้อกันมากเกินไป เมื่อซื้อกันมากเกินก็แสดงว่าราคาสูงไปแล้ว ราคาหุ้นก็จะเริ่มตกลง (แต่ให้รอดูสัญญาณให้แน่ชัด)
-ถ้าต่ำกว่า 30ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นเข้าเขต over sold หรือ ขายกันมากเกินไป ซึ่งแสดงว่าราคาหุ้นถูกจนเกือบต่ำสุด ต่อจากนี้ราคาก็จะเริ่มขึ้น ให้เตรียมตัวซื้อ (แต่ให้รอดูสัญญาณให้แน่ชัด)
* * * * *  ปล. บางตำราบอกไว้ว่า “การซื้อขายโดยการใช้ RSI ตัดกับ 30,70 หรือ 20,80 จริงๆไม่สมควรเท่าไหร่ เพราะในระยะยาวโอกาสขาดทุนมากกว่ากำไร จริงๆแล้วให้จับตามองว่าหุ้นมีโอกาสกลับตัวเกิด Top หรือ Bottom แต่ไม่ใช่จุดซื้อขาย  เพราะเวลาหุ้น Bullish RSI จะวิ่งเหนือ 70 ได้นานๆ หรือเวลา Bearish ก็ลงมาวิ่งต่ำกว่า 30 ได้นานๆเช่นกัน (หมายถึงให้ถือ holdไว้ก่อน รอดูว่าเมื่อเกิดจุดกลับตัวของราคาหุ้นแล้วค่อยซื้อ-ขาย)”

16.  ค่า P/E ....ในที่นี้ P = Price  E = Earnings per share  (ราคา/กำไรต่อหุ้นตัวนั้น) ก็จะทำให้เรารู้ว่าเราซื้อหุ้นตัวนั้นมาแพงหรือถูก ในอีกทางหนึ่งก็จะทำให้รู้ว่าต้องถือไว้อีกกี่ปีถึงคุ้มทุน
เช่น หุ้น ก.ราคา 100บ. กำไรต่อหุ้น 20บ./ปี                         =>        100/20 = 5  เท่า
      หุ้น ข.ราคา 40บ.(ถูกกว่า) แต่กำไรต่อหุ้นเพียง 2บ./ปี      =>        40/2    = 20 เท่า
**แสดงให้เห็นว่าในที่นี้ หุ้น ข. ถือว่าซื้อมาแพงกว่า และหุ้น ก. สามารถได้ทุนคืนเร็วกว่าด้วย

17.  ค่า P/BV....Price / Book Value “มูลค่าทางบัญชี”.....(ราคา/เงินทุนที่บริษัทใส่ลงไป)
เช่น หุ้นราคา 100 / เงินลงทุนที่ใส่ลงไป 200    =>    100/200 = 0.50     เพราะฉะนั้นเท่ากับว่าเราซื้อหุ้นในขณะนั้นที่ราคา 100บ. (ค่า P/BV =0.50) เหมือนเราลงทุนถูกกว่าเจ้าของ 50สตางค์ ต่อหุ้น

โค๊ด: [Select]
http://stockmanday.blogspot.com/2012/01/blog-post_04.html
  • Tamol

  • ****
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 1 | กระทู้ 250
  • เพศ: ไม่ระบุ
วิธีเปิดบัญชี forex exness อย่างละเอียด 2024 ทีละขั้นตอน | วิธีสมัคร Forex Update 2567



 

SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums