การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex

อ่าน 1805 ครั้ง

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fundamental Analysis of Forex คือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อดูแนวโน้มของค่าสกุลเงินจากสภาวะทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ใช้กุลเงินนั้นๆเป็นสกุลเงินหลัก เช่น ถ้าเราจะเทรด USD ซึ่งเป็นสกุลเงินหลักของประเทศสหรัฐอเมริกา เราก็ต้องดูสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ ว่าเป็นเช่นไร หรือถ้าเราจะเทรด GBP เราก็ควรรู้ว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร(UK) ดีหรือไม่ เป็นต้น ดังนั้นในการซื้อขายในตลาด Forex ซึ่งเราซื้อขายคู่สกุลเงินที่ถูกจับคู่ไว้แล้ว เราก็ต้องดูและเปรียบเทียบเศรษฐกิจของสองประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินนั้นๆ เพราะเป้าหมายของการวิเคราะห์ด้วยพื้นฐานคือการประเมินมูลค่าของสกุลเงินหนึ่งที่ต้านกับอีกสกุลเงินหนึ่ง โดยดูจากสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์พื้นฐานจึงต้องพิจารณาตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องนโยบายของรัฐบาลรวมถึงมาตรการต่างๆ และโครงสร้างของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะบอกถึงอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ  เพื่อที่จะบอกได้ว่าสกุลเงินนั้นๆมีมูลค่าต่ำหรือสูงกว่าเมื่อเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่ง

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

นักลงทุนที่เพิ่งเข้ามาในตลาดแรกๆ มักจะตั้งคำถามว่า เทคนิคในการวิเคราะห์กราฟแบบไหนที่สำคัญกว่าหรือดีกว่ากันระหว่าง การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคในการดูกราฟ กับ การวิเคราะห์ด้านปัจจัยพื้นฐาน? เราอยากบอกว่า นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จส่วนมากจะใช้ทั้งเทคนิคทั้งสองอย่างประกอบกันในการดูแนวโน้มทิศทางของราคา แม้ว่าในปัจจุบันนี้นักลงทุนหลายคนคิดว่าการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนั้นสำคัญกว่า เพราะมันช่วยให้การซื้อขายของเรานั้นง่ายขึ้นมาก แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรลืมที่จะใส่ใจทางด้านปัจจัยทางพื้นฐานซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะปัจจัยพื้นฐานคือจุดกำเนิดของพฤติกรรมต่างๆในตลาด ผ่านจิตวิทยาของนักลงทุน ดังสมการนี้

ปัจจัยพื้นฐาน(ข่าว) > จิตวิทยาของนักลงทุน > พฤติกรรมของนักลงทุน > พฤติกรรมราคาในตลาด

อธิบายง่ายๆก็คือ เมื่อมีข่าวดีออกมา เช่น มีการจ้างงานสูงขึ้น ประชากรมีรายไม่เพิ่มมากขึ้นก็จะมีการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้นนักลงทุนก็จะเกิดความเชื่อมั่นว่าค่าเงินของประเทศนั้นจะต้องดีขึ้นแน่นอนทำให้ "เกิดความโลภ" แย่งกันซื้อหวังเก็งกำไรจากค่าเงินนั้นๆ ทำให้ราคาในตลาดพุ่งสูงขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าเกิดมีข่าวร้ายออกมา เช่น จำนวนผู้ตกงานเพิ่มสูงขึ้น ประชากรลดการใช้จ่ายลงเนื่องจากรายได้ลดลง เหล่านักลงทุนก็จะกลัวว่าอนาคตของค่าเงินตัวนี้จะย่ำแย่ก็ไม่มีใครกล้าซื้อสกุลเงินนั้น  ส่วนใครที่ซื้อไว้ก็จะรีบเทขายออกมา ก็จะมีผลทำให้ราคาดิ่งเหว

ข่าวสารต่างๆที่ออกมาก็จะมีทั้งข่าวที่เป็นจริงเช่น การประกาศตัวเลขดัชนีต่างๆ หรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว ข่าวเหล่านี้จะบอกเราได้ว่าสภาวะเศรษฐกิจตอนนี้เป็นอย่างไร และทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าต่อไปจะเป็นเช่นไร และข่าวที่เป็นการคาดการณ์ เช่น การคาดการณ์ผลที่จะตามมาจากคำพูดของผู้นำทางการเงิน เกี่ยวกับนโยบายทางการเงิน หรือ ตัวเลขคาดการณ์ดัชนีต่างๆ ก็จะทำให้เราคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป

ที่สำคัญอย่าลืมว่าเราไม่ใช่คุณคนเดียวที่รับรู้ข่าวเหล่านั้น เมื่อทุกคนรับรู้ข่าวเดียวกันนี้และคิดไปในทิศทางเดียวกันก็จะมีผลต่อราคาตลาด และบ่อยครั้งที่เราเห็นว่าราคาได้วิ่งไปในทิศทางที่ตลาดคาดการณ์ก่อนที่ข่าวจะออก และเมื่อข่าวออกมา ราคากลับสวนทางกับทิศทางที่ควรจะเป็นอย่างไม่มีเหตุผล ตัวอย่างเช่น

 "มีกระแสข่าวออกมาว่ามีแนวโน้มที่เป็นไปได้มากว่าธนาคารกลางสหรัฐ "จะ"ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันศุกร์นี้ แต่ก่อนที่จะมีการประกาศนั้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ค่อยๆปรับตัวลดลงตั้งแต่วันจันทร์ที่มีกระแสข่าวออกมา ทำให้คู่เงินอย่าง EURUSD ค่อยๆไต่ระดับราคาขึ้นจนถึงเวลาที่ข่าวออกมาจริงๆ แล้วหลังจากนั้นไม่นานราคาก็ร่วงลงมา ซึ่งมักจะเกิดจากการที่นักลงทุนที่ได้เข้าซื้อ EURUSD ไว้ตั้งแต่เมื่อได้ยินข่าวนี้ในช่วงแรกๆ คิดว่าตอนนี้ราคาได้ขึ้นมามากแล้ว และตนเองได้กำไรพอสมควรแล้วจึงปิดออเดอร์เพื่อทำกำไร (โอว ราคาขึ้นมาสูงมากแล้ว และฉันก็ได้กำไรมากพอแล้ว ปิดออเดอร์ออกจากตลาด นอนกอดกำไรดีกว่า) ทำให้ราคาร่วงลงมาสวนทางกับข่าว" แบบนี้ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งในตลาด Forex เหมือนวลีที่ว่า  "Buy the rumor ,Sell the news" (ซื้อข่าวลือ ขายข่าวจริง) ซึ่งมองดูสวนทางกับเหตุและผลอย่างสิ้นเชิง และนั่นก็เป็นเหตุมาจากจิตวิทยาของนักลงทุนที่ทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆของนักลงทุน และส่งผลมาสู่ราคาในตลาดนั่นเอง

อย่างที่เราเห็นกันอยู่ว่า เมื่อมีข่าวที่สำคัญๆออกมา ราคาจะวิ่งผันผวนรุนแรง ดังนั้นจึงอันตรายมากสำหรับการเทรดระยะสั้น ลองนึกภาพดูว่าถ้าคุณเทรดเพื่อต้องการที่จะเก็บกำไร เพียง 10-20 จุด แล้วข่าวที่สำคัญมาก (High Impact) ออกมาแล้วส่งผลให้ราคาวิ่งไปคนละทางกับที่คุณเปิดการซื้อขายเอาไว้ อะไรจะเกิดขึ้น? (เชื่อว่าหลายคนมีประสบการณ์ตรงนี้เป็นอย่างดี) ถ้าคุณตั้ง Stop loss เอาไว้ คุณก็อาจจะเสียเงินส่วนนั้นไปภายในพริบตา ดังนั้น หากคุณเป็น Scalping ที่เล่นสั้นๆ คุณก็ควรจะระวังให้มากในเรื่องของข่าว อย่าเผลอในช่วงเวลาที่จะมีการประกาศข่าวโดยเฉพาะข่าวที่สำคัญๆ หรืออาจจะหลีกเลี่ยงไม่ถือออเดอร์ในช่วงก่อนการประกาศข่าว

ข่าวสำคัญที่แสดงถึงสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และมีอิทธิพลต่อตลาดมาก (High Impact) ก็คือ

GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

Inflation ข่าวอัตราเงินเฟ้อ

Employment Figures ข่าวต่างๆเกี่ยวกับการจ้างงาน ซึ่งจะรวมทั้ง อัตราการจ้างงาน, อัตราการว่างงาน รายได้ของแรงงาน , ข่าว NFP (Non-farm payroll )

Interest rate Decision ข่าวเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสำคัญมาก เพราะธนาคารกลางสามารถให้อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ

Consumer Confidence ดัชนีการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

Consumer Price Index  (CPI)ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นดัชนีสำคัญที่จะบอกได้ถึงอัตราเงินเฟ้อ

เหล่านี้คือข่าวที่มีผลต่อราคาในตลาดมากที่สุด และยิ่งสำคัญมากถ้าเป็นข่าวของสหรัฐฯ เรียกได้ว่า จาก High Impact จะกลายเป็น Very High impact ก็ว่าได้ เพราะจะส่งผลที่รุนแรงมากกว่าข่าวจากประเทศอื่นๆ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นค่าเงินที่มีอิทธิพลมากต่อตลาด อย่างที่เห็นว่าทุกคู่เงินหลักในตลาด จะมีค่าเงิน USD ร่วมอยู่ด้วย

ยูโรก็เป็นอีกค่าเงินหนึ่งที่มีความพิเศษ คือ เงินยูโรเป็นสกุลที่ใช้กันในกลุ่มประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป มี 17 ประเทศสมาชิกที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน เรียกว่า สหภาพการเงินยูโร (Euro Monetary Union) EMU หรือ Euroland ซึ่งได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยียม, ไซปรัส, เอสโตเนีย ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, มอลตา, เนเธอร์แลนด์, โปรตุเกส, สโลวาเกีย, สโลวาเนีย และ สเปน 

ดังนั้นการดูปัจจัยพื้นฐานของสกุลเงินยูโรก็จะต้องดูจากประเทศเหล่านี้  ซึ่งประเทศที่มีมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และมีความสำคัญมากต่อแนวโน้มค่าเงินยูโรได้แก่ เยอรมัน รองลงมาคือ ฝรั่งเศส และ อิตาลี ตามลำดับ นักลงทุนจะดูการเคลื่อนไหวของ 3 ประเทศนี้เป็นหลักสำหรับการวิเคราะห์ค่าเงินยูโร

นอกจากข่าวข้างต้นที่มีมีอิทธิพลต่อราคาของตลาดมากแล้วนั้น ก็ยังมีข่าวอีกหลายข่าวที่มีผลต่อตลาด เช่น ดุลการค้า, ดัชนีการนำเข้าส่งออก, อัตราการผลิตของโรงงานอุสาหกรรม, ยอดขายบ้าน, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI), ยอดการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ฯลฯ แต่ข่าวเหล่านี้จะมีผลต่อตลาดน้อยกว่าข่าวที่บอกไว้ในตอนต้นคือจัดอยู่ในกลุ่ม Medium Impact 

แน่นอนว่าในช่วงที่มีการประกาศข่าว จะเป็นช่วงแห่งความตื่นเต้น หวาดเสียว และท้าทายมากสำหรับนักลงทุน เพราะราคาจะวิ่งเร็วและแรง นักลงทุนบางคนอาจจะไม่เทรดในช่วงข่าวเลย แต่ก็มีนักลงทุนหลายคนที่จับจ้องจังหวะนี้เพื่อทำกำไรก้อนใหญ่ แต่อย่าลืมว่าถ้าคุณพลาดก็อาจจะเจ็บหนักได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณจะเทรดข่าวคุณก็ควรระวังและคำนึงถึงความเสี่ยงนี้ด้วย 

ข้อแนะนำในการเทรดข่าวก็คือ คุณควรหลีกเลี่ยงการถือออเดอร์ในช่วงก่อนที่ข่าวจะถูกประกาศออกมา รอให้ข่าวนั้นประกาศออกมาเสียก่อน และรอให้ราคาส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าจะไปทางไหนกันแน่แล้วค่อยเข้าทำการซื้อขาย ซึ่งในส่วนนี้คุณอาจต้องใช้เทคนิคในการวิเคราะห์กราฟช่วยในการหาจังหวะเข้าซื้อขายด้วย

โค๊ด: [Select]
http://www.thaiforexschool.com/viewfulldetial.php?id=174&&name=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%20%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3
  • Tamol

  • ****
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 1 | กระทู้ 250
  • เพศ: ไม่ระบุ
วิธีเปิดบัญชี forex exness อย่างละเอียด 2024 ทีละขั้นตอน | วิธีสมัคร Forex Update 2567



 

SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums